Tuesday, October 23, 2012

ขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

ขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

 
 

การทดลองในสุนัขพบว่า สาร curcumin มีฤทธิ์ลดหารบีบตัวของลำไส้สุนัข (49) สาร sodium curcuminate สามารถยับยั้งการบีบตัวของลำไส้หนูขาวในหลอดทดลองที่เหนี่ยวนำด้วย nicotine, acetylcholine, 5-hydroxy-tryptamine, histamine และ barium chloride  นอกจากนี้ sodium curcuminate ยังลดจังหวะการบีบรัดตัวของลำไส้ของกระต่าย โดยไปลดระยะห่างของจังหวะการบีบรัดตัวของลำไส้ (18) และขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูขาวได้ (50) ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ จะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้าน calcium (calcium antagonism) (51) นอกจากนี้การออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของขมิ้น ยังออกฤทธิ์ผ่านการต้านฤทธิ์ของ acetylcholine, barium chloride และ serotonin (9) และพบว่าขมิ้นสามารถลดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก จึงช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็ง ของบริเวณดังกล่าว (52) การทดลองทางคลินิกในคนไข้ 440 คน อายุเฉลี่ย 48.5 ปี โดยการให้รับประทานขมิ้นวันละ 162 มก. พบว่า มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ และยังช่วยในการขับลมและแก้อาเจียนด้วย (53)

ขมิ้นมีฤทธิ์ลดอาการแน่นจุกเสียด

มีการทดลองในผู้ป่วยโรคท้องอืดท้องเฟ้อในโรงพยาบาล 6 แห่ง จำนวน 160 คน โดยรับประทานครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 4 ครั้ง พบว่าได้ผลดีกว่ายาขับลมและผู้ป่วยพอใจ (54) ซึ่งน้ำมันหอมระเหยของขมิ้นเป็นสารออกฤทธิ์ในการขับลม (55)  

ขมิ้นมีฤทธิ์ขับน้ำดี

ขมิ้นมีฤทธิ์ขับน้ำดี (56) และมีสารสำคัญในการออกฤทธิ์เช่น curcumin (57-63), p-tolyl-methylcarbinol (64) ซึ่งสามารถเพิ่มการขับและกระตุ้นการสร้างน้ำดี นอกจากนี้ หากนำ p-tolyl-methylcarbinol มาสังเคราะห์ร่วมกับ camphoric acid และ diethanolamine จะได้สาร synthobilin ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดีได้เพิ่มขึ้น (65) สาร bisdesmethoxycurcumin และ curcumin เมื่อนำมาทดสอบโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำของหนูขาวในขนาด 25 มก./กก. พบว่าสามารถเพิ่มการขับน้ำดีได้ 120% และ 80% ตามลำดับ (66) และเมื่อทดสอบกับหนูขาวที่ถูกชักนำให้การขับน้ำดีลดลงด้วยการฉีด cyclosporin ขนาด 30 มก./กก. เข้าเส้นเลือด พบว่า  bisdesmethoxycurcumin และ curcumin ช่วยเพิ่มการขับน้ำดีได้ 125% และ 100% ตามลำดับ จากค่าเริ่มต้น (63) สาร sodium curcuminate เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดในขนาด 25 มก./กก. มีฤทธิ์เพิ่มน้ำดีเกือบ 100% โดยไม่มีผลต่อความดันโลหิตและการหายใจ (60) เมื่อฉีดสาร sodium curcuminate เข้าหลอดเลือดดำในขนาด 5, 10, 25 มก./กก. พบว่าเพิ่มปริมาณน้ำดี เพิ่มการขับ bile salt, bilirubin และ cholesterol แต่กรดไขมันไม่เปลี่ยนแปลง (59) นอกจากนี้ cineole ที่พบในน้ำมันหอมระเหยของขมิ้น ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการขับน้ำดีด้วย (67) จึงทำให้การย่อยดีขึ้นเป็นผลให้อาการจุกเสียดบรรเทาลง อย่างไรก็ตาม บางรายงานพบว่าการป้อนหนูขาวด้วย  curcumin ขนาด 100 มก./กก. ร่วมกับการฉีด cyclosporin ขนาด 10 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ กลับทำให้การขับน้ำดีลดลง (68)



0 comments:

Post a Comment