Tuesday, October 23, 2012

ขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการแพ้


ขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการแพ้
 
 

      สาร curcumin (42-43)  และสารสกัดเอทิลอะซีเตทที่ประกอบด้วย monodemethoxycurcumin, bisdemethoxycurcumin, furulic acid, cafeic acid, p-coumaric acid และ trans-cinnamic acid (43)  มีฤทธิ์ต้านการแพ้ ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์คือยับยั้งการหลั่งสาร histamine ของร่างกายเมื่อเกิดปฏิกิริยาการแพ้ สารสกัดเบนซีน บิวทานอล น้ำ เฮกเซน และ เอทิลอะซีเตทจากเหง้าขมิ้น เมื่อทดลองในหนูขาวและหนูถีบจักร โดยให้ด้วยวิธีกรอกเข้าทางปากในขนาด 300 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการแพ้ โดยสารสกัดเอทิลอะซีเตทมีฤทธิ์แรงที่สุด แต่กลไกการออกฤทธิ์ไม่ได้เกิดจากการยับยั้งการหลั่งสาร histamine ของร่างกาย (44) และการศึกษาฤทธิ์ต้าน histamine ของน้ำมันหอมระเหย (24) สารสกัดน้ำ เบนซีน บิวทานอล และเอทิลอะซีเตท จากขมิ้น ที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. ในหลอดทดลองพบว่า สารดังกล่าว มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell ของหนูขาว (42)

      Curcumin tetrahydrocurcumin (45-46), curcumin-related compounds และสารในกลุ่ม curcuminoids (47) มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine ในเซลล์ basophilic leukemia (RBL-2H3) ของหนูขาว และ mast cell ของหนูขาว ที่ถูกชักนำด้วย concanavalin A (con A), calcium ionophore A23187 (45-46) และ phosphatidylserine (47) โดยพบว่า curcumin และ tetrahydrocurcumin มีฤทธิ์แรง ค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) คือ 65.1 และ 79.8 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ซึ่งในการทดลองมีการสนับสนุนว่าสารในกลุ่ม curcumin จะมีผลกับกระบวนการ degranulation หลังจาก calcium ion เข้าสู่ mast cell และมีผลยับยั้งการหลั่ง histamine

      สารสกัดเอทิลอะซีเตทและบิวทานอลของขมิ้นมีฤทธิ์ขัดขวางการจับกับ H2-histamine receptor ของ dimaprit ซึ่งเป็น H2-histamine receptor agonist การกระตุ้น receptor นี้ จะก่อให้เกิดการสร้าง cyclic AMP (cAMP) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทำการทดลองในเซลล์ U937 และ HL-60 promyelocytes พบฤทธิ์ขัดขวางการจับกับ H2-histamine receptor สูงสุดในสารสกัดเอทิลอะซีเตท นอกจากนี้ สารสกัดเอทานอลของขมิ้นยังยับยั้งการเข้าจับของ [H3]-tiotidine ที่ membrane receptor ของเซลล์ HL-60 ซึ่ง [H3]-tiotidine เป็นตัวกระตุ้นการสร้าง cAMP เช่นกัน (48)

0 comments:

Post a Comment