Tuesday, October 23, 2012

ขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

ขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้

 
 
การทดลองในสุนัขพบว่า สาร curcumin มีฤทธิ์ลดหารบีบตัวของลำไส้สุนัข (49) สาร sodium curcuminate สามารถยับยั้งการบีบตัวของลำไส้หนูขาวในหลอดทดลองที่เหนี่ยวนำด้วย nicotine, acetylcholine, 5-hydroxy-tryptamine, histamine และ barium chloride  นอกจากนี้ sodium curcuminate ยังลดจังหวะการบีบรัดตัวของลำไส้ของกระต่าย โดยไปลดระยะห่างของจังหวะการบีบรัดตัวของลำไส้ (18) และขมิ้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้เล็กของหนูขาวได้ (50) ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ จะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้าน calcium (calcium antagonism) (51) นอกจากนี้การออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบของขมิ้น ยังออกฤทธิ์ผ่านการต้านฤทธิ์ของ acetylcholine, barium chloride และ serotonin (9) และพบว่าขมิ้นสามารถลดการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบของมดลูก จึงช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็ง ของบริเวณดังกล่าว (52) การทดลองทางคลินิกในคนไข้ 440 คน อายุเฉลี่ย 48.5 ปี โดยการให้รับประทานขมิ้นวันละ 162 มก. พบว่า มีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ และยังช่วยในการขับลมและแก้อาเจียนด้วย (53)

ขมิ้นมีฤทธิ์ลดอาการแน่นจุกเสียด

มีการทดลองในผู้ป่วยโรคท้องอืดท้องเฟ้อในโรงพยาบาล 6 แห่ง จำนวน 160 คน โดยรับประทานครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 4 ครั้ง พบว่าได้ผลดีกว่ายาขับลมและผู้ป่วยพอใจ (54) ซึ่งน้ำมันหอมระเหยของขมิ้นเป็นสารออกฤทธิ์ในการขับลม (55)  

ขมิ้นมีฤทธิ์ขับน้ำดี

ขมิ้นมีฤทธิ์ขับน้ำดี (56) และมีสารสำคัญในการออกฤทธิ์เช่น curcumin (57-63), p-tolyl-methylcarbinol (64) ซึ่งสามารถเพิ่มการขับและกระตุ้นการสร้างน้ำดี นอกจากนี้ หากนำ p-tolyl-methylcarbinol มาสังเคราะห์ร่วมกับ camphoric acid และ diethanolamine จะได้สาร synthobilin ซึ่งมีฤทธิ์ขับน้ำดีได้เพิ่มขึ้น (65) สาร bisdesmethoxycurcumin และ curcumin เมื่อนำมาทดสอบโดยการฉีดเข้าเส้นเลือดดำของหนูขาวในขนาด 25 มก./กก. พบว่าสามารถเพิ่มการขับน้ำดีได้ 120% และ 80% ตามลำดับ (66) และเมื่อทดสอบกับหนูขาวที่ถูกชักนำให้การขับน้ำดีลดลงด้วยการฉีด cyclosporin ขนาด 30 มก./กก. เข้าเส้นเลือด พบว่า  bisdesmethoxycurcumin และ curcumin ช่วยเพิ่มการขับน้ำดีได้ 125% และ 100% ตามลำดับ จากค่าเริ่มต้น (63) สาร sodium curcuminate เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดในขนาด 25 มก./กก. มีฤทธิ์เพิ่มน้ำดีเกือบ 100% โดยไม่มีผลต่อความดันโลหิตและการหายใจ (60) เมื่อฉีดสาร sodium curcuminate เข้าหลอดเลือดดำในขนาด 5, 10, 25 มก./กก. พบว่าเพิ่มปริมาณน้ำดี เพิ่มการขับ bile salt, bilirubin และ cholesterol แต่กรดไขมันไม่เปลี่ยนแปลง (59) นอกจากนี้ cineole ที่พบในน้ำมันหอมระเหยของขมิ้น ยังมีฤทธิ์กระตุ้นการขับน้ำดีด้วย (67) จึงทำให้การย่อยดีขึ้นเป็นผลให้อาการจุกเสียดบรรเทาลง อย่างไรก็ตาม บางรายงานพบว่าการป้อนหนูขาวด้วย  curcumin ขนาด 100 มก./กก. ร่วมกับการฉีด cyclosporin ขนาด 10 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง เป็นเวลา 2 สัปดาห์ กลับทำให้การขับน้ำดีลดลง (68)



ขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการแพ้


ขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการแพ้
 
 
      สาร curcumin (42-43)  และสารสกัดเอทิลอะซีเตทที่ประกอบด้วย monodemethoxycurcumin, bisdemethoxycurcumin, furulic acid, cafeic acid, p-coumaric acid และ trans-cinnamic acid (43)  มีฤทธิ์ต้านการแพ้ ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์คือยับยั้งการหลั่งสาร histamine ของร่างกายเมื่อเกิดปฏิกิริยาการแพ้ สารสกัดเบนซีน บิวทานอล น้ำ เฮกเซน และ เอทิลอะซีเตทจากเหง้าขมิ้น เมื่อทดลองในหนูขาวและหนูถีบจักร โดยให้ด้วยวิธีกรอกเข้าทางปากในขนาด 300 มก./กก. มีฤทธิ์ต้านการแพ้ โดยสารสกัดเอทิลอะซีเตทมีฤทธิ์แรงที่สุด แต่กลไกการออกฤทธิ์ไม่ได้เกิดจากการยับยั้งการหลั่งสาร histamine ของร่างกาย (44) และการศึกษาฤทธิ์ต้าน histamine ของน้ำมันหอมระเหย (24) สารสกัดน้ำ เบนซีน บิวทานอล และเอทิลอะซีเตท จากขมิ้น ที่ความเข้มข้น 50 มคก./มล. ในหลอดทดลองพบว่า สารดังกล่าว มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine จาก mast cell ของหนูขาว (42)

      Curcumin tetrahydrocurcumin (45-46), curcumin-related compounds และสารในกลุ่ม curcuminoids (47) มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง histamine ในเซลล์ basophilic leukemia (RBL-2H3) ของหนูขาว และ mast cell ของหนูขาว ที่ถูกชักนำด้วย concanavalin A (con A), calcium ionophore A23187 (45-46) และ phosphatidylserine (47) โดยพบว่า curcumin และ tetrahydrocurcumin มีฤทธิ์แรง ค่าความเข้มข้นที่ยับยั้งได้ 50% (IC50) คือ 65.1 และ 79.8 ไมโครโมลาร์ ตามลำดับ ซึ่งในการทดลองมีการสนับสนุนว่าสารในกลุ่ม curcumin จะมีผลกับกระบวนการ degranulation หลังจาก calcium ion เข้าสู่ mast cell และมีผลยับยั้งการหลั่ง histamine

      สารสกัดเอทิลอะซีเตทและบิวทานอลของขมิ้นมีฤทธิ์ขัดขวางการจับกับ H2-histamine receptor ของ dimaprit ซึ่งเป็น H2-histamine receptor agonist การกระตุ้น receptor นี้ จะก่อให้เกิดการสร้าง cyclic AMP (cAMP) ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เมื่อทำการทดลองในเซลล์ U937 และ HL-60 promyelocytes พบฤทธิ์ขัดขวางการจับกับ H2-histamine receptor สูงสุดในสารสกัดเอทิลอะซีเตท นอกจากนี้ สารสกัดเอทานอลของขมิ้นยังยับยั้งการเข้าจับของ [H3]-tiotidine ที่ membrane receptor ของเซลล์ HL-60 ซึ่ง [H3]-tiotidine เป็นตัวกระตุ้นการสร้าง cAMP เช่นกัน (48)

ขมิ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ

ขมิ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
 

มีผลทดลองพบว่าส่วนผงแห้ง น้ำคั้น (9) สารสกัดปิโตรเลียมอีเธอร์ (12-13)  สารสกัดแอลกอฮอล์ และสารสกัดน้ำของขมิ้น (13) มีฤทธิ์ลดการอักเสบ และสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือ สาร curcumin และอนุพันธุ์ของสารดังกล่าว (13-21) และเมื่อเปรียบเทียบกับ phenylbutazone พบว่ามีฤทธิ์ใกล้เคียงกันในกรณีของการอักเสบแบบเฉียบพลัน    ส่วนกรณีของการอักเสบแบบเรื้อรังจะมีฤทธิ์เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น โดยทำการทดลองฉีดสารสกัดขมิ้นขนาด 160 มก./กก. เข้าทางกระเพาะอาหารของหนูขาว พบว่ามีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบคิดเป็น 29.5% และสาร curcumin เป็นสารออกฤทธิ์ นอกจากนี้ สารดังกล่าวยังทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้น้อยกว่า phenylbutazone (16) การทดสอบฤทธิ์ของ curcumin และอนุพันธุ์ที่สกัดจากขมิ้น พบว่า desoxycurcumin ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ดีที่สุด (18)  อนุพันธ์ต่างๆ ที่ได้จากการสังเคราะห์ curcumin คือ sodium curcuminate และ tetrahydrocurcumin เมื่อนำมาทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบ พบว่าออกฤทธิ์ได้ดีกว่า curcumin (17) สาร curcumin จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบ เป็นสัดส่วนกับขนาดที่ใช้ จนถึงขนาด 30 มก./กก. เมื่อให้สูงกว่านี้ฤทธิ์จะลดลง (18)    ต่อมามีรายงานว่าสาร curcumin สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ luekotrine B4 ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบได้ (22)   
น้ำมันหอมระเหยในเหง้าขมิ้นมีฤทธิ์ลดการอักเสบ (23-24) โดยมีฤทธิ์ต้าน histaminในระยะแรกของการอักเสบ  โดยผ่านกระบวนการยับยั้ง trypsin หรือ hyaluronidase (25)   น้ำมันจากใบขมิ้นที่ได้จากการสกัดด้วยไอน้ำ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนูขาวที่ถูกชักนำให้อุ้งเท้าบวมด้วย carrageenin และ cotton pellet โดยน้ำมันหอมระเหยขนาด 1.6 มล./กก. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้เทียบเท่ากับ phenylbutazone ขนาด 100 มก./กก. (26)
                น้ำคั้นจากขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทดสอบกับหนูขาวที่ถูกชักนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วยสาร carragenan พบว่าน้ำคั้นขมิ้นขนาดต่ำสุดที่สามารถแสดงฤทธิ์ต้านอักเสบได้มีขนาดเทียบเท่าเหง้าขมิ้นสด 0.5 ก./กก. เมื่อให้ทางช่องท้อง และขนาด 20 ก./กก. เมื่อให้ทางปาก ส่วนผงขมิ้นชันขนาดต่ำสุดที่แสดงฤทธิ์เมื่อให้ทางปากคือ 2 ก./กก หรือเทียบเท่าขมิ้นสด 14.8 ก./กก. สารสกัด 95% เอทานอล และส่วนสกัดที่ละลายในเฮกเซน แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อให้เข้าทางช่องท้องและทางปาก ขนาดต่ำสุดที่แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบได้มีขนาดเทียบเท่าผงขมิ้นชัน 1.1 และ 0.8 ก./กก. ตามลำดับ เมื่อให้ทางช่องท้อง และ 2.2 และ 3.3 ก./กก. ตามลำดับเมื่อให้ทางปาก (27) สารสกัดน้ำจากขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยเชื้อที่ทำให้เกิดสิว (Propionibacterium acnes) ซึ่งพบว่าสารสกัดจากขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิด oxidative burst จากการเหนี่ยวนำด้วยเชื้อได้ 40.3% นอกจากนี้ สารสกัดน้ำจากขมิ้นยังสามารถยับยั้งการสร้าง interleukin-8 และ tumor necrosis factor-a จาก polymorphonuclear leukocytes ของมนุษย์ได้ 29.8 และ 57.6% ตามลำดับ เมื่อใช้สารสกัดในขนาด 50 มคก./มล. ยับยั้งได้ 18.1 และ 43.5% ตามลำดับ เมื่อใช้สารสกัดในขนาด 5 มคก./มล (28)
      สารสกัดเมทานอลของขมิ้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-II (COX-II) และ nitric oxide synthase (iNOS) ได้ 74.0 และ 88.4% ตามลำดับ เมื่อทดสอบที่ขนาด 10 มคก./มล. (29)
สาร curcumin จากขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ด้วยการยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ 5-lipoxygenase เมื่อทดสอบกับ neutrophils ของหนูขาว และยังยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ 12-lipoxygenase และ cyclooxygenase ในเกล็ดเลือดของมนุษย์ ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้จะทำงานเมื่อเกิดการอักเสบ (30) สารสกัดจากเหง้าขมิ้นแห้งแสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase และ prostaglandin synthetase ซึ่งพบว่าสารที่ออกฤทธิ์คือ 1,7-bis(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)1,6-heptadiene-3,5-dione (curcumin) และ p-hydroxycinnamoylferuloylmethane-1,6-heptadiene-3,5-dione โดยนำสารที่ได้นี้ไปทดสอบกับเลือดม้า เปรียบเทียบกับ flunixin mrglumine ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม non-steroidal anti-inflammatory (NSAID) (31) สาร curcumin, monodemethoxycurcumin และ bisdemethoxycurcumin จากขมิ้นในขนาด 125 มคก./มล. มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-I (COX-I) 32, 38.5 และ 39.2% ตามลำดับ และที่ขนาดเดียวกัน ยังมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ cyclooxygenase-II (COX-II) 89.7, 82.5 และ 58.9% ตามลำดับ (32) สารสกัดหยาบของขมิ้นซึ่งมีปริมาณของ curcumin (i), demethoxycurcumin (ii) และ bis-demethoxycurcumin (iii) 21.4, 7.2 และ 5.1% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ มีค่า IC50 ต่อการสร้าง PGE2 0.13 มคก./มล. น้ำมันจากขมิ้นซึ่งมี (i), (ii) และ (iii) 25.7, 8.7 และ 6.2% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ มีค่า IC50 ต่อการสร้าง PGE2 0.48 มคก./มล. curcuminoids ซึ่งมี (i), (ii) และ (iii) 74.2, 14.9 และ 4.5% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ มีค่า IC50 ต่อการสร้าง PGE2 2.66 มคก./มล. (33) แต่การใช้สารสกัดขมิ้นซึ่งมีสารต่างๆ และน้ำมันขมิ้น จะให้ฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ดีกว่าการใช้เพียงสารใดสารหนึ่ง โดยกลไกการออกฤทธิ์จะเกี่ยวข้องกับการยับยั้งการสร้าง prostaglandin E2 (PGE2)และยับยั้งการออกฤทธิ์ของเอนไซม์ COX-II (34) สาร curcumin จากขมิ้นมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง macrophage inflammatory protein-2 (MIP-2) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการรักษาการอักเสบ (35) สาร cinnamyl tiglate จากน้ำมันหอมระเหยของขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทดสอบกับหนูขาวที่ถูกชักนำให้เกิดการอักเสบด้วย carrageenin พบว่าการป้อนหนูด้วย cinnamyl tiglate ในขนาด 4.4% ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สามารถลดการอักเสบและฤทธิ์จะมากขึ้นเมื่อป้อนในขนาด 17.6% ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. (36) สารจากขมิ้น 6 ชนิดคือ 1,5,-bis(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)-(1E,4E)-1,4pentadien-3-one, 1-(4-hydroxy-3-methoxyphenyl)-5-(4-hydroxyphenyl)-(1E,4E)-1,4-pentadien-3-one, curcumin, demethoxycurcumin, bisdemethoxycurcumin และ 5’-methoxycurcumin มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ เมื่อทดสอบกับใบหูของหนูถีบจักรที่ถูกชักนำให้เกิดการอักเสบด้วย 12-O-tetradecanoylphorbol-13-acetate ในขนาด 0.6 ไมโครโมลาร์ โดยที่ bisdemethoxycurcumin มีฤทธิ์ดีที่สุด (37)
JCICM-6 เป็นตำรับยาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากพืชหลายชนิดรวมทั้งขมิ้น ซึ่งสกัดด้วยวิธี supercritical CO2 จากการทดลองพบว่าการป้อนหนูขาวด้วย JCICM-6 ขนาด 0.438 1.75 ก./กก. สามารถลดการบวมที่อุ้งเท้าหนูที่ถูกชักนำด้วย carragenan และสารก่อการอักเสบอื่นๆ เช่น histamine, serotonin, bradykinin และ prostaglandin E2 (PGE2) ได้ และลดการบวมที่ใบหูของหนูถีบจักรที่ถูกชักนำด้วย arachidonic acid หรือ 12-O-tetradecanoyl phorbol 13-acetate (TPA) ได้ นอกจากนี้ยังยืดเวลาของปฏิกิริยาตอบสนองต่อการกระตุ้นด้วยความร้อนในหนูขาว และลดจำนวนของ writhing episodes ของหนูถีบจักรที่ถูกชักนำด้วยการฉีด 0.8% w/v acetic acid in 0.9% w/v NaCl ขนาด 0.2 มล. เข้าที่ช่องท้องหนู ซึ่งแสดงให้เห็นว่า JCICM-6 มีฤทธิ์ต้านการอักเสบและบรรเทาปวด (38) ผลิตภัณฑ์ครีมขมิ้นชัน ซึ่งมีสารสำคัญคือ curcumin, desmethoxycurcumin, bisdesmethoxycurcumin และ aromatic turmerone เท่ากับ 0.78, 0.19 0.16 และ 0.87%w/v ตามลำดับ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจาก bradykinin (39) ยาเตรียมจากขมิ้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทำการทดสอบในหนูขาวและหนูถีบจักรที่ถูกชักนำให้เกิดการอักเสบที่อุ้งเท้าด้วย carrageenan จากการทดลองพบว่า ยาเตรียมในรูปแบบ aqueous paste 1%w/w W/O (water in oil) cream และ 1% w/w O/W (water in oil) cream มีความสามารถยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหนูขาวได้ 30.23, 36.84 และ 55.55% ตามลำดับ และยาเตรียมในรูปแบบ O/W cream ที่ความเข้มข้น 1%w/w และ 1.5w/w มีความสามารถยับยั้งอาการบวมที่อุ้งเท้าหนูถีบจักรได้ 65.52 และ 95.52% ตามลำดับ (40)

      การศึกษาทางคลินิกแบบ randomized, double-blind, placebo controlled, cross-over study ในผู้ป่วยกระดูกข้ออักเสบเรื้อรังจำนวน 42 คน โดยใช้ยาสมุนไพรที่มีส่วนประกอบของเหง้าขมิ้น 50 มก./แคปซูล 650 มก. พบว่าการได้รับยาสมุนไพรดังกล่าวสามารถลดความเจ็บปวดที่รุนแรงได้ (41)

ขมิ้นมีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร

 ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลและสมานแผลในกระเพาะอาหาร  


ขมิ้นมีฤทธิ์สมานแผลในกระเพาะอาหาร โดยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่เป็นแผล  ทำให้แผลหายเร็วขึ้น  ag-turmerone จากน้ำมันหอมระเหยของขมิ้นเป็นสารออกฤทธิ์ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (1) ขมิ้นสามารถต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร  โดยกระตุ้นการหลั่ง mucin มาเคลือบกระเพาะอาหาร และสาร curcumin ขนาด 50 มก./กก. ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน (2-4) และ ขมิ้นยังยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยต่าง ๆ ได้อีกด้วย (4)
นอกจากนี้ยังมีการทดลองทางคลินิก ที่ใช้ขมิ้นในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องด้วยอาการโรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยเปรียบเทียบกับการใช้ยาไตรซิลิเกต (trisilicate) ซึ่งเป็นยาลดกรดขององค์การเภสัชกรรม หลังการทดลองได้ผลดังนี้ คือ อาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยขมิ้นชันครบ 12 สัปดาห์ จำนวน 15 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 หายเป็นปกติ 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.8 อาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยยาไตรซิลิเกต 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 50 และหายเป็นปกติ 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 (5)
ต่อมาได้มีการทดลองในผู้ป่วย 10 คน เป็นชาย 8 คนและหญิง 2 คน อายุระหว่าง 16-60 ปี เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแผล 0.5-1.5 ซม. ซึ่งมีอาการปวดท้องและอาการอื่นๆ ที่บ่งถึงภาวะแผลเปื่อยในกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้เล็ก ทำการทดสอบโดยให้รับประทานขมิ้นแคปซูลขนาด 250 มก. ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 4 ครั้ง คือรับประทานก่อนอาหารครึ่งชั่วโมง 3 มื้อ และรับประทานก่อนนอน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ การตรวจสอบโดยการส่องกล้อง ทำในสัปดาห์ที่ 0, 4, 8 และ 12 สัปดาห์  หลังจากรักษา มีผู้ป่วยแผลหาย 7 ราย (70%) โดย แผลหายภายใน 4 สัปดาห์ 5 ราย (50%) แผลหายภายใน 8 สัปดาห์ 1 ราย (10%) และแผลหายภายใน 12 สัปดาห์ 1 ราย (10%) (6)
การทดลองทางคลินิก โดยให้ผู้ป่วยโรคกระเพาะชนิด gsatric ulcer (GU) จำนวน 5 ราย และ duodenal ulcer (DU) จำนวน 20 ราย ได้รับยาแคปซูลขมิ้นขนาด 300 มก. ครั้งละ 2 แคปซูล วันละ 5 ครั้ง คือรับประทานก่อนอาหาร 0.5-1 ชั่วโมง 3 มื้อ รับประทานเวลา 16.00 น. และรับประทานก่อนนอน เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าผู้ป่วย 12 ราย (DU 9 ราย และ GU 3 ราย) จาก 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 48 แผลหายภายใน 4 สัปดาห์ ผู้ป่วย 18 ราย (DU 13 ราย และ GU 5 ราย) จาก 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 72 แผลหายภายใน 8 สัปดาห์ ผู้ป่วย 19 ราย (DU 14 ราย และ GU 5 ราย) จาก 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 76 แผลหายภายใน 12 สัปดาห์ และผู้ป่วยที่แผลหายแล้ว จะไม่กลับมาเป็นแผลอีก (7)
น้ำคั้นจากเหง้าสด ผงขมิ้น ส่วนที่สกัดด้วยอัลกอฮอล์ที่ละลายในเฮกเซน และส่วนที่สกัดด้วยอัลกอฮอล์ที่ไม่ละลายในเฮกเซน เมื่อป้อนให้หนูขาวที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร 3 วิธี ได้แก่ การทำให้เครียดด้วยความเย็น ให้กรดเกลือและให้แอสไพริน  พบว่ายาเตรียมและส่วนสกัดต่างๆ ยกเว้นส่วนที่สกัดด้วยอัลกอฮอล์ที่ไม่ละลายในเฮกเซน สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้ (6)
      การทดสอบโดยป้อนน้ำมันขมิ้นในขนาด 0.075, 0.15 และ 0.3 ก./กก. แก่หนูขาวก่อนถูกกระตุ้นให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารด้วย 0.6 N hydrochloric acid และ indomethacin 50มก./กก. เป็นเวลา 30 นาที พบว่าน้ำมันขมิ้นช่วยทำให้ pH ในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ลดการทำงานของเปปซินและเพิ่มการหลั่งสารเมือกของกระเพาะอาหาร ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าว จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของน้ำมันที่ให้ และพบว่าที่ขนาด 0.3 ก./กก. ยังช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารจาก hydrochloric acid และ indomethacin ได้ 97.4 และ 100% (8)
ขมิ้นสามารถยับยั้งการเกิดแผล และช่วยไม่ให้แผลในกระเพาะอาหารเกิดเพิ่มขึ้น ซึ่งทดลองโดยให้สารสกัดอัลกอฮอล์ของขมิ้นในขนาด 500 มก./กก. กรอกเข้าทางปากแก่หนูขาว พบว่าสามารถป้องกันการเกิดแผลที่มีสาเหตุมาจาก pyloric ligation, ความเครียดโดยใช้ความเย็น, indomethacin, reserpine, cysteamine, 80% เมทานอล, 0.6 M hydrochloride, 0.2 M Sodium hydroxide และ 95% Sodium chloride (9)
การทดสอบป้อนผงขมิ้นขนาด 0.5 ก./กก. แก่หนูขาวเพศผู้ ก่อนชักนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารเป็นเวลา 3 วัน ด้วย indomethacin ขนาด 12 มก./กก., ภาวะเครียดจากความเย็น และการจำกัดการเคลื่อนไหว พบว่าผงขมิ้นที่ขนาดดังกล่าว มีฤทธิ์ช่วยป้องกันและเสริมการสมานแผลในกระเพาะอาหาร แต่มีแนวโน้มในการทำให้เกิดแผลรุนแรงมากกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งได้รับ indomethacin แต่ไม่ได้รับขมิ้น (10)
เมื่อให้สาร phenyl-1-hydroxy-N-pentane ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์ที่สังเคราะห์มาจากสารประกอบในขมิ้น เข้าทางลำไส้เล็กส่วน duodenum ของสุนัข จะมีฤทธิ์เพิ่มการหลั่ง secretin และ bicarbonateจากตับอ่อน โดยการออกฤทธิ์จะเพิ่มขึ้นตามขนาดของสารที่ได้รับ และการทดลองในอาสาสมัคร 6 คน ที่ได้รับ 2% phenyl-1-hydroxy-N-pentane ขนาด 30 มล./30 นาที โดยการฉีดเข้าที่ลำไส้เล็กส่วนบนของ jejunum ก็พบว่าความเข้มข้นของ secretin และbicarbonate ในเลือดเพิ่มขึ้น (11)

ขมิ้น ชลอความแก่


 

ขื่อ วิทยาศาสตร์           Curcuma longa Linn. วงศ์                                ZINGIBERACEAE ชื่อท้องถิ่น                    ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง, ขมิ้นหยวก, ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) หมิ้น (ภาคใต้) ลักษณะ                         พืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ใต้ดินเนื้อในของเหง้า ขมิ้นชันมีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัดมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบรูปเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบพุทธรักษา ดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ออกตรงกลางระหว่างใบคู่ในสุดดอกสีขาว มีแถบสีเหลืองคาด มีกลีบประดับสีขาวหรือเขียว ส่วนที่นำมาใช้เป็นยา คือ เหง้า (สดและแห้ง) เหง้าของขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการ อักเสบ และ มีฤทธิ์ในการ ขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด การใช้ขมิ้นชัน แก้แพ้แก้อักเสบ แผล ฝีพุพอง แมลงสัตว์กัดต่อยภายนอก โดยใช้เหง้ายาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ผงขมิ้นโรยทาบริเวณที่มีอาการ ผื่นคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้  อาการ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียดและอาหารไม่ย่อย ใช้เหง้าขมิ้น ไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัด ๆ สัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ถ้ามีอาการท้องเสียให้หยุดยาทันที นอกจากโรคเกี่ยวกับท้องแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศีรษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบอีกด้วยคะเพราะว่ามีฤทธิ์ลดการ อักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร  การค้นพบสรรพคุณใหม่ๆ ของขมิ้นชันอีกมากมาย เช่น การป้องกันการแข็งตัว



ของ หลอดเลือด การชลอความแก่ การเป็นสารต้านมะเร็งและเนื้องอกต่างๆ พบว่า การกินอาหารผสมขมิ้นสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่ผ่านมาทางอาหารได้ รวมทั้งสามารถป้องกันมะเร็งจากสารก่อมะเร็งต่างๆ และยังมีสรรพคุณในการต้านไวรัส โดยเฉพาะเชื้อ HIV อันเป็นต้นเหตุของโรคเอดส์ ขมิ้นชันจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของผู้ป่วยเอดส์  แต่การเลือกขมิ้นชันมากินนั้น หากต้องเลือกเอง ขุดเอง ควรเลือกขมิ้นชันที่ได้คุณภาพ คือ ขมิ้นชันต้องมีอายุอย่างน้อย 9-12 เดือน จึงสามารถขุดเหง้ามาทำยาได้ และต้องไม่เก็บไว้นานเกินไป จนน้ำมันหอมระเหยหายหมด และต้องไม่ลืมว่า แสงมีปฏิกิริยากับสาระสำคัญคือ เคอร์คิวมินในขมิ้นชัน จงต้องเก็บให้พ้นแสงด้วยนะคะ มิฉะนั้นจะได้รับประทานแต่การขมิ้นชันแน่ๆ คะ  จะเห็นได้ว่าขมิ้นชันนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งทาและกินเชียวนะคะ ในสมัยก่อนนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้านของไทยได้มีการนำขมิ้นมาใช้ประกอบอาหารหลายชนิด  ใช้ปรุงแต่งกลิ่นและรสในอาหาร โดยเฉพาะอาหารทางภาคใต้ เช่น แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกะหรี่ ไก่ทอดขมิ้น เป็นต้น นับเป็นความฉลาดของคนใต้ ที่หาวิธีกินขมิ้นในชีวิตประจำวัน  สำหรับสาวๆ แล้วการใช้ขมิ้นทาผิวหน้าจะทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียดสวยชนิดที่หนุ่มมองได้ไม่วางตาเชียวคะ

สูตรครีมขมิ้น

ขมิ้น

ขมิ้น (Turmeric)

เหง้า ของขมิ้นมีรสฝาด กลิ่นหอม มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ    น้ำมันหอมระเหย ในขมิ้นชัน มีสรรพคุณบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่น จุกเสียด แก้โรคผิวหนัง แก้ผื่นคันคัน     ในด้านเครื่องสำอางค์ ขมิ้นมักใช้ในสูตรครีมกันแดด ในอินเดีย ใช้ทาหน้าเจ้าบ่าวและเจ้าสาวเพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ร่างกายปลอดภัยจากเชื้อ แบคทีเรียที่เป็นอันตราย นอกจากนี้ยังทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง และลดการขึ้นของขนตามร่างกาย



ใน ขมิ้น มีสาร เคอร์คิวมินนอยด์ (curcuminoids) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ โดยเฉพาะชนิด hydroxyl radical ซึ่งสามารถสลายอนุมูลอิสระ และป้องกันอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระด้วย

ขมิ้น รู้จ้กกันดีว่าเป็นสมุนไพรที่ชลออายุผิว ช่วยต่อต้านผิวแห้งโดยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดทำให้ผิวมีสุขภาพดีและลด การเพิ่มรอยเหี่ยวย่น

ดื่มชาขมิ้นพร้อมกับชาเขียวป้องกันมะเร็งที่ 2 กลไก ทำให้ได้ผลดีกว่า

ชาขมิ้น ชั่ง 30 กรัม ใส่น้ำ 1 ลิตร ต้มนาน 15 นาที ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟ ก่อนอาหารเช้า-เย็น ป้องกันการแก่ก่อนวัย

หากใช้ขมิ้นทาผิวจะช่วยสมานแผล บำรุงผิว แก้อาการแพ้
 
สูตรครีมขมิ้น

1. ผสมผงขมิ้น 1/4 ถ้วย กับน้ำสะอาด 1/2 ถ้วย เคี่ยวด้วยไฟร้อนปานกลาง คนให้เข้ากัน
2. นำส่วนผสมใส่ในชาม คนจนส่วนผสมจับตัวกันเป็นครีมเหนียว
3. ปล่อยให้ครีมเย็นตัว ใส่ภาชนะที่สะอาดปิดแน่น เก็บในตู้เย็น
 
 

ขมิ้น สมุนไพรใกล้ตัว





สมุนไพรใกล้ตัว อย่างขมิ้น ที่เป็นพืชล้มลุก มีอายุหลายปี มีความสูง 30-90 ซม. มีเหง้าอยู่ใต้ดิน รูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกที่แตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม และจะมีกลิ่นที่เฉพาะ เป็นพืชใบเดี่ยว จะแทงออกมาเหง้า และเรียงเป็นวงซ้อน ทับกันรูปใบหอก มีความกว้าง 12-15 ซม. ความยาว 30-40 ซม. ดอกช่อจะแทงออกจากเหง้า และจะแทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อน หรือสีนวล จะบานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลมมี 3 พู ด้วย
สรรพคุณทางยาของขมิ้น

สมุนไพรใกล้ตัว อย่างเหง้าของขมิ้นที่มีรสฝาด มีกลิ่นหอม และยังสามารถเก็บมาใช้ เมื่อมีช่วงอายุ 9-10 เดือน ขมิ้นมีฤทธิ์ในการช่วยฆ่าเชื้อ เชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาอาการเชื้อรา ช่วยลดการอักเสบ และ ขมิ้นมีฤทธิ์ในการขับน้ำดี ในขมิ้นยังมีน้ำมันหอมระเหย เพราะว่าในขมิ้นชัน มีสรรพคุณ ที่ช่วยในการบรรเทา อาการปวดท้อง ช่วยแก้ท้องอืด แน่นจุดเสียด ช่วยแก้โรคผิวหนัง ขับลม แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง ขมิ้นยังอาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ แต่ยังไม่ยืนยันแน่ชัด เพียงเท่สนั้น


วิธีนำขมิ้นมาใช้ประโยชน์

ขมิ้นสามารถนำมา ช่วยอาการท้องอืด ช่วยแก้อาการท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด และอาหารไม่ย่อย สมุนไพรใกล้ตัว เราสามารถทำได้ โดยล้างขมิ้นให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือกออก นำขมิ้นมาหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากแดดจัดสัก 1-2 วัน จากนั้นนำขมิ้นมาบดให้ละเอียด นำมาผสมกับน้ำผึ้ง นำมาปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย นำมากินครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3 -4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน ถ้าหากว่าทานไปแล้วเกิดอาการแน่จุกเสียดก็ให้หยุดทานยานี้ซะ
ขมิ้นนอกจาก จะมีสรรพคุณต่างๆ มากมายแล้ว ขมิ้นยังสามารถนำใช้เป็นส่วนประกอบในเรื่องความสวยความงามได้อีกด้วย โดยเราสามารถนำมาขัดผิว มาใช้ในการขัดหน้า แค่นำขมิ้นมาผสมกับดินสอพอง และน้ำผึ้ง จากนั้น นำมาขัดผิว ขัดหน้า เพียงแค่นี้ก็จะทำให้ผิวพรรณของเรานั้น สวยผ่องสดใสเพิ่มมากขึ้นแล้วล่ะ สมุนไพรใกล้ตัว ที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ และราคาไม่แพงด้วย ทั้งสวยทั้งสุขภาพดีด้วยนะ

สมุนไพรใกล้ตัว ขมิ้นชัน

สมุนไพรใกล้ตัว ขมิ้นชัน

“สมุนไพร”ขมิ้น ชันอีกหนึ่ง สมุนไพรไทย ที่มีสรรพมากมายเหลือเกิน คุณผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมนำ ขมิ้นชัน มาใช้ในการขัดผิว เพื่อให้ผิวพรรณดูสดใสนวลเนียนและขาวขึ้น แต่ คุณประโยชน์ของขมิ้นชัน ยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ เพราะ สมุนไพรไทยขมิ้นชัน นั้น ยังมีประโยชน์และสรรพคุณนานา มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
สรรพคุณและประโยชน์ ขมิ้นชัน
- ใช้เหง้าแก่ตากแห้งบดเป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้งหรือใส่แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
- ใช้ แง่งขมิ้นชันล้างสะอาดตำละเอียดคั้นเอาแต่น้ำ เจือน้ำสุกเท่าตัวอาจเติมเกลือเล็กน้อยให้ทานง่ายขึ้น รับประทานครั้งละประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง แก้ท้องร่วงแก้บิด
- ใช้เหง้า”ขมิ้น”แก่สดฝนกับน้ำสุกหรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- เอาผงขมิ้นผสมกับน้ำฝนคนให้เข้ากันดีทาบริเวณที่เป็นกลากเช้าและเย็น
- ขูดเอาเนื้อที่หัวขมิ้นทาบริเวณที่ยุงกัด
- ผสมผงขมิ้น 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำมันหมูหรือน้ำมันมะพร้าว 2-3 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนคนจนน้ำมันกลายเป็นสีเหลืองใช้ใส่แผลสด
- ผสมขมิ้นกับน้ำปูนใสเล็กน้อยและผสมสารส้มหรือดินประสิวพอกบริเวณที่เป็นแผล “แก้เคล็ดขัดยอก”ได้ด้วย
ข้อควรระวัง
1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ
2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุด
3. Curcumin จะมีฤทธิ์ลดการอักเสบ เป็นสัดส่วนกับขนาดที่ใช้จนถึงขนาด 30 มิลลิกรัม ต่อ กิโลกรัม เมื่อให้สูงกว่านี้ ฤทธิ์จะลดลง
4. ผู้ป่วยที่มีการอุดตันในท่อน้ำดี เช่น มีนิ่วควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ขมิ้นชัน
5. ระวังการใช้ในหญิงมีครรภ์ หากใช้ในปริมาณสูงจะทำให้เกิดการแท้งได้โดยเฉพาะระยะแรกของการตั้งครรภ์


ขอบคุณบทความดีดีจาก.n3k.in.th